ประดุจดาววับวาว
ดุจดาว วัฒนปกรณ์ เธอเป็นทั้งนักแสดง ผู้กำกับ และ นักศิลปะบำบัด ที่รู้จักการใช้ร่างกายให้สัมพันธ์กับจิตใจของเธอมากที่สุดคนหนึ่งที่หาได้น้อยนักในเมืองไทย เธอได้บอกเล่าประสบการณ์การสอนบำบัดปลดล็อคความเครียด ด้วยวิธี Dance Movement Therapy จนทั้งเด็ก ทั้งผู้ป่วย และนักพยาบาลหลงรักเธอเกรียว และถ้าคุณได้อ่านหนังสือเล่มนี้คุณก็จะรู้จักความใส่ใจคนอื่น หรืออาจจะเข้าใจความรักในการแสวงหาความรู้ และอิสระของความเป็นไปได้ในศาสตร์และศิลป์ของการ รู้เต้น รู้ตื่น
บางส่วนจากหนังสือ “กระโดดโลดเต้น” With Dance Movement Psychotherapist ของ ดุจดาว วัฒนปกรณ์, สำนักพิมพ์ มันดา บุ๊คส์
ปรับบุคลิกภาพแบบระยะยาวด้วยการเรียนเต้น
คนเถรตรง ขวานผ่าซาก พูดจามะนาวไม่มีน้ำ เส้นโค้งในรำไทยคงช่วยให้วิธีคิดดูนุ่มนวล ประนีประนอม
คนไม่ค่อยระวังตัวเอง ปล่อยปละ ไม่รักษาระเบียบวินัย ไม่เคารพกฎ การเต้นคลาสสิก เช่น บัลเล่ต์ หรือโขน ก็จะช่วยส่งเสริมให้อยู่ในรูปในรอยขึ้น
คนไม่มีความมั่นใจ ขี้อาย ไม่แน่ใจถึงอัตลักษณ์ของตัวเองน่าจะไปเรียนเต้นอัฟริกัน
คนที่อยากหัดเรื่องมนุษยสัมพันธ์ การปรับตัว อ่อนด้วยเรื่องของชีวิตคู่ และการรับฟังผู้อื่น เรียนการเต้นลีลาศคงช่วยได้เยอะ
คนที่ใช้ชีวิตซ้ำๆ เหมือนกันทุกวัน เป๊ะทุกอย่าง น่าจะลองซัลซ่า เต้นไจฟว์ ไม่ก็แดนซ์คอนเทมเพื่อเพิ่มสีสันและอารมณ์ใหม่ๆ ให้กับชีวิตบ้าง
ชีวิตที่มีสุขภาพดี คือชีวิตที่สมดุล
(จาก “กระโดดโลดเต้น” ของ ดุจดาว วัฒนปกรณ์, สำนักพิมพ์ มันดา บุ๊คส์)
15.8.54
11.8.54
My Sassy Book ตอน 35: อ่านอย่างเจ้าผู้สามัญ - ราชินีนักอ่าน (The Uncommon Reader)
My Sassy Book ตอน 35: อ่านอย่างเจ้าที่สามัญ
- ราชินีนักอ่าน (The Uncommon Reader)
อลัน เบ็นเน็ตต์ แต่ง (Alan Bennett)
รสวรรณ พึ่งสุจริต ถอดความ
สำนักพิมพ์ โฟร์ เล็ตเตอร์ เวิร์ด 4-leter word
ภายในช่วงเวลาประมาณ 3 อาทิตย์ ซื้อหนังสือวรรณกรรม / ชีวประวัติ ภาษาอังกฤษมาไม่ต่ำกว่า 60 เล่ม เหลือเงินกลับบ้านไม่ถึงร้อยบาท เสร็จแล้วกลับมาอ่านเล่มที่ค้างไว้ต่อ คือ “ราชินีนักอ่าน”
“ราชินีนักอ่าน” อ่านคู่กับเล่มเรื่องสั้นซีไรต์ลาว “กู้หน้า กู้หนวด”ที่ตลกดี อย่างที่คนแปล คุณ รสวรรณ พึ่งสุจริต ว่าไว้ คนอ่านหนังสือบางคนชอบอ่านเรื่องเกี่ยวกับคนรักการอ่านหนังสือด้วยกัน ปกติเจอเล่มแนวนี้ทีไรต้องหาอ่านทุกที นี่ว่าไว้ควรจะจดไว้เป็นลิสต์เหมือนกัน เพราะทำไปทำมานิยายแนวนี้ชักจะมีเยอะ และเราคงพอเป็นแนวร่วมกันได้ เพราะเลือกอ่านเองโดยไม่ได้มีปูมหลังการเรียนหรือครอบครัวรักอ่าน ที่หาอ่านหาซื้อก็สุ่มไปเรื่อยเปื่อย ไม่ชอบตามลิสต์ตามโพย แล้วมันสนุกได้รสชาติดีกว่าเชื่อใคร
นิยายเล่มบาง ๆ นี้เป็นเกี่ยวกับพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 ของอังกฤษที่ตกหลุมรักในการอ่านหนังสืออย่างไม่คาดฝันมาก่อน ทรงพัฒนาจากการอ่านเบื้องต้น ไปสู่การอ่านหนังสือเล่มยาก ๆ ของ มาร์แซล พรูสต์ (พระองค์มองว่าการจุ่มเค้ก-ขนมมาดเดอแลง-ในน้ำชา-ฉากคลาสสิกในเรื่องนั้นเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจมาก) และหนังสือของ คอมป์ตัน เบอร์เน็ตต์ ทรงอ่านซ้ำจึงชอบ (ซื้อดองไว้ชาติที่แล้วยังไม่ถึงคิวอ่านเสียที) แต่ที่สำคัญที่ตัดสินใจซื้อเล่มนี้ เพราะเอ่ยถึง ฌอง เฌเน่ต์ (Jean Genet) นักเขียนเกย์หัวแรงที่เคยทำหนังด้วย (เคยดูหนังเงียบเรื่อง Un Chant d’ Amour โจ่งแจ้งอย่างเหลือเชื่อว่าทำออกมาได้ตั้งแต่สมัยหนังเงียบขาวดำ) แต่ดูเหมือน อลัน เบ็นเน็ตต์ คนแต่งก็น่าจะเป็นเกย์เหมือนกัน เคยดูหนังที่เขาเขียนบทคือเรื่อง Prick Up Your ears ส่วน Madness of King George ไม่ได้ดู แต่เคยซื้อบทหนัง A Private Function (รูปแรงมากเป็นแนวตลกร้ายผสมมาโซคิสม์) กับแผ่นดีวีดี Talking Heads ที่เขาว่าเป็นโมโนล็อกยาว ๆ ของนักแสดงละคร ก็เลยยังไม่ได้ดูเสียที
คือราชินีในเรื่องถูกกีดกันจากการอ่าน อิสระเสรีเพียงอย่างเดียวของพระองค์ที่ทำให้รู้สึกว่าเป็นผู้เป็นคน จนข้าราชบริพารรู้สึกว่าทรงละเลยงานการ มัวแต่ทรงพระอักษร พอถามนายก ถามผู้บริหารประเทศที่เข้าเฝ้าแทบทุกคนไม่รู้จักงานเขียนของนักเขียนระดับตำนานเหล่านี้ สถานะของนักเขียนศิลปินที่น่าเศร้าซึ่งถูกมองข้ามเสมอจากผู้บริหารงานใหญ่
ข้อความในหนังสือที่น่าสนใจมีมากมายตามต่อไปนี้:
เสน่ห์ของการอ่านอยู่ที่ความเป็นกลางของมัน มีบางอย่างที่สูงส่งในเนื้อวรรณกรรม แต่หนังสือไม่ได้สนใจว่าใครอ่านมันอยู่ หรือว่าเราอ่านมันหรือไม่ นักอ่านทุกคนเท่าเทียมกัน รวมทั้งพระองค์ด้วย พระองค์ทรงคิดว่าวรรณกรรมคือเครือจักรภพอังกฤษ แต่งานเขียนคือสาธารณรัฐ......สาธารณรัฐแห่งงานเขียน
หนังสือไม่มีการโอนอ่อนผ่อนตาม นักอ่านทุกคนเท่าเทียมกัน
ตอนที่ยังทรงพระเยาว์ เรื่องที่ทำให้พระองค์ทรงตื่นเต้นมากที่สุดก็คือ คืนวันฉลองชัยชนะของฝ่ายพันธมิตร ตอนนั้นพระองค์และพระขนิษฐาต่างทรงชักชวนกันหนีออกจากประตูพะราชวัง เพื่อไปร่วมฉลองกับฝูงชนโดยที่ไม่มีใครจำได้ เหตุการณ์นั้นมีอะไรบางอย่างที่คล้ายกับการอ่านหนังสือ มันไร้ซึ่งชื่อเสียงเรียงนาม มันถูกแบ่งปัน มันเป็นของร่วมกัน พระองค์ผู้ทรงมีพระชนม์ชีพแยกจากมันมาโดยตลอด กลับพบในตอนนี้ว่าทรงโหยหามันเหลือเกิน ตรงนี้เอง ในหน้าหนังสือพวกนี้ ที่อยู่ระหว่างปกหนังสือเหล่านี้ที่พระองค์สามารถเสด็จท่องไปโดยไม่มีใครจำได้
ความสงสัยและการตั้งคำถามกับพระองค์เองเช่นนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น เมื่อใดที่พระองค์ทรงก้าวข้ามจุดนี้ไปได้ นั่นเองจะเป็นจุดสิ้นสุดที่ทำให้เห็นว่าความอยากทรงพระอักษรจะไม่เป็นเรื่องแปลกอีก และหนังสือที่พระองค์ทรงเคยหยิบขึ้นมาทรงพระอักษรอย่างระมัดระวังนั้นก็จะค่อย ๆ กลายเป็นส่วนสำคัญของพระองค์ไปในที่สุด
มีมุขตลกเกี่ยวกับหนังสือที่ราชินียืมห้องสมุดมาอ่านแล้วหมาในวังชอบกัด อย่างหนังสือของ เอียน แม็คอีวาน (Atonement) หรือ เอ เอส ไบแอ็ต (Posession)
และหนังสือที่คนสนิทซึ่งเป็นเกย์แนะนำให้ท่านอ่าน
“ฝ่าพระบาทน่าจะทรงพระอักษรงานเขียนของ คิลเวิร์ท พระพุทธเจ้าข้า” นอร์มัน กราบทูล
“เขาคือใครรึ”
“บาทหลวงในศตวรรษที่สิบเก้าพระพุทธเจ้าข้า เขาอาศัยอยู่บริเวณชายแดนที่ติดกับเวลส์ ชอบเขียนไดอารี่ ทั้งยังชอบเด็กผู้หญิงด้วยพระพุทธเจ้าข้า”
“อ้อ” องค์ราชินีรับสั่ง “อย่างนี้ก็เหมือนกับ ลิววิส แครอล สิ”
“แย่กว่าพระพุทธเจ้าข้า”
“ตายจริง อย่างนั้นเธอช่วยหาไดอารี่พวกนี้มาให้เราอ่านหน่อยได้ไหม”
* (เป็นที่รู้กันว่า ลิววิส แครอล คนแต่ง Alice in Wonderland เป็นคนขี้อาย ชอบสนิทสนมคลุกคลีกับ เด็กผู้หญิง และถ่ายรูปพวกเธอด้วย) *
แล้วในเล่มที่บอกว่าฝ่าพระบาททรงโปรดงานเขียนของชนกลุ่มน้อย เช่นใครบ้าง
วิกรัม เสธ กับ ซาลมัน รัชดี
เซอร์เควิน ข้าราชบริพารคนสำคัญ ทูลแย้งพระองค์ว่า
“การอ่านคือการตีตัวห่างออกจากสังคม คือการทำให้ตนเองไม่มีเวลาว่าง คนเราน่าจะรู้สึกคุ้นเคยกับมัน ถ้างานอดิเรกนั้นมีความเห็นแก่ตัว......น้อยกว่านี้
“วรรณกรรมในความคิดของเรา คือประเทศอันแสนกว้างใหญ่ ที่เราไม่เคยเดินทางไปถึงพรมแดนของมัน”
“การอ่านทำให้คนเรานุ่มนวลขึ้น ในขณะที่การเขียนส่งผลในทางตรงกันข้าม การจะเขียนหนังสือได้นั้น คุณต้องทั้งแกร่งและอดทน”
“ข้าพระพุทธเจ้าเคยได้แต่คิดว่า” นายกรัฐมนตรีทรงกราบทูล “ฝ่าพระบาททรงอยู่เหนือวรรณกรรม”
“เหนือวรรณกรรมรึ” องค์ราชินีตรัส “มีใครอยู่เหนือวรรณกรรมบ้าง ท่านก็อาจจะพูดได้เหมือนกันว่าเราอยู่เหนือมนุษยชาติ แต่อย่างที่เราพูดไว้นั่นล่ะว่า วัตถุประสงค์ของเรามิใช่งานวรรณกรรมเป็นหลัก มันคือการวิเคราะห์และใคร่ครวญว่าท่านนายกรัฐมนตรีทั้งสิบท่านพวกนั้นเป็นอย่างไร”
“..บางครั้งเราคิดว่าตัวเองเป็นเทียนหอม มีหน้าที่ส่งกลิ่นหอมให้กับระบบการปกครอง หรือไม่ก็ระบายอากาศให้กับนโยบายต่าง ๆ ระบอบกษัตริย์ในสมัยนี้ก็เป็นเพียงแค่น้ำหอมปรับอากาศที่ได้รับการรับรองโดยคณะรัฐบาลเท่านั้น”
แต่ประโยคในเล่ม ‘ราชินีนักอ่าน’ ที่โดนสุด ๆ คือ
“เราแน่ใจว่า ท่านรู้ว่า ยากนักที่หนังสือจะก่อให้เกิดการกระทำใด ๆ ขึ้นมา โดยทั่วไปหนังสือแค่ช่วยยืนยันในสิ่งที่ท่านตัดสินใจไปแล้วเท่านั้น ถึงท่านจะไม่รู้ตัวก็ตาม ท่านหันไปหาหนังสือก็เพราะมันเหมือนเป็นสิ่งที่สนับสนุนความตั้งใจของท่านเท่านั้น ถ้าจะพูดกันตามเนื้อผ้า หนังสือคือสิ่งที่ปิดหนังสือด้วยกันเอง”
- ราชินีนักอ่าน (The Uncommon Reader)
อลัน เบ็นเน็ตต์ แต่ง (Alan Bennett)
รสวรรณ พึ่งสุจริต ถอดความ
สำนักพิมพ์ โฟร์ เล็ตเตอร์ เวิร์ด 4-leter word
ภายในช่วงเวลาประมาณ 3 อาทิตย์ ซื้อหนังสือวรรณกรรม / ชีวประวัติ ภาษาอังกฤษมาไม่ต่ำกว่า 60 เล่ม เหลือเงินกลับบ้านไม่ถึงร้อยบาท เสร็จแล้วกลับมาอ่านเล่มที่ค้างไว้ต่อ คือ “ราชินีนักอ่าน”
“ราชินีนักอ่าน” อ่านคู่กับเล่มเรื่องสั้นซีไรต์ลาว “กู้หน้า กู้หนวด”ที่ตลกดี อย่างที่คนแปล คุณ รสวรรณ พึ่งสุจริต ว่าไว้ คนอ่านหนังสือบางคนชอบอ่านเรื่องเกี่ยวกับคนรักการอ่านหนังสือด้วยกัน ปกติเจอเล่มแนวนี้ทีไรต้องหาอ่านทุกที นี่ว่าไว้ควรจะจดไว้เป็นลิสต์เหมือนกัน เพราะทำไปทำมานิยายแนวนี้ชักจะมีเยอะ และเราคงพอเป็นแนวร่วมกันได้ เพราะเลือกอ่านเองโดยไม่ได้มีปูมหลังการเรียนหรือครอบครัวรักอ่าน ที่หาอ่านหาซื้อก็สุ่มไปเรื่อยเปื่อย ไม่ชอบตามลิสต์ตามโพย แล้วมันสนุกได้รสชาติดีกว่าเชื่อใคร
นิยายเล่มบาง ๆ นี้เป็นเกี่ยวกับพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 ของอังกฤษที่ตกหลุมรักในการอ่านหนังสืออย่างไม่คาดฝันมาก่อน ทรงพัฒนาจากการอ่านเบื้องต้น ไปสู่การอ่านหนังสือเล่มยาก ๆ ของ มาร์แซล พรูสต์ (พระองค์มองว่าการจุ่มเค้ก-ขนมมาดเดอแลง-ในน้ำชา-ฉากคลาสสิกในเรื่องนั้นเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจมาก) และหนังสือของ คอมป์ตัน เบอร์เน็ตต์ ทรงอ่านซ้ำจึงชอบ (ซื้อดองไว้ชาติที่แล้วยังไม่ถึงคิวอ่านเสียที) แต่ที่สำคัญที่ตัดสินใจซื้อเล่มนี้ เพราะเอ่ยถึง ฌอง เฌเน่ต์ (Jean Genet) นักเขียนเกย์หัวแรงที่เคยทำหนังด้วย (เคยดูหนังเงียบเรื่อง Un Chant d’ Amour โจ่งแจ้งอย่างเหลือเชื่อว่าทำออกมาได้ตั้งแต่สมัยหนังเงียบขาวดำ) แต่ดูเหมือน อลัน เบ็นเน็ตต์ คนแต่งก็น่าจะเป็นเกย์เหมือนกัน เคยดูหนังที่เขาเขียนบทคือเรื่อง Prick Up Your ears ส่วน Madness of King George ไม่ได้ดู แต่เคยซื้อบทหนัง A Private Function (รูปแรงมากเป็นแนวตลกร้ายผสมมาโซคิสม์) กับแผ่นดีวีดี Talking Heads ที่เขาว่าเป็นโมโนล็อกยาว ๆ ของนักแสดงละคร ก็เลยยังไม่ได้ดูเสียที
คือราชินีในเรื่องถูกกีดกันจากการอ่าน อิสระเสรีเพียงอย่างเดียวของพระองค์ที่ทำให้รู้สึกว่าเป็นผู้เป็นคน จนข้าราชบริพารรู้สึกว่าทรงละเลยงานการ มัวแต่ทรงพระอักษร พอถามนายก ถามผู้บริหารประเทศที่เข้าเฝ้าแทบทุกคนไม่รู้จักงานเขียนของนักเขียนระดับตำนานเหล่านี้ สถานะของนักเขียนศิลปินที่น่าเศร้าซึ่งถูกมองข้ามเสมอจากผู้บริหารงานใหญ่
ข้อความในหนังสือที่น่าสนใจมีมากมายตามต่อไปนี้:
เสน่ห์ของการอ่านอยู่ที่ความเป็นกลางของมัน มีบางอย่างที่สูงส่งในเนื้อวรรณกรรม แต่หนังสือไม่ได้สนใจว่าใครอ่านมันอยู่ หรือว่าเราอ่านมันหรือไม่ นักอ่านทุกคนเท่าเทียมกัน รวมทั้งพระองค์ด้วย พระองค์ทรงคิดว่าวรรณกรรมคือเครือจักรภพอังกฤษ แต่งานเขียนคือสาธารณรัฐ......สาธารณรัฐแห่งงานเขียน
หนังสือไม่มีการโอนอ่อนผ่อนตาม นักอ่านทุกคนเท่าเทียมกัน
ตอนที่ยังทรงพระเยาว์ เรื่องที่ทำให้พระองค์ทรงตื่นเต้นมากที่สุดก็คือ คืนวันฉลองชัยชนะของฝ่ายพันธมิตร ตอนนั้นพระองค์และพระขนิษฐาต่างทรงชักชวนกันหนีออกจากประตูพะราชวัง เพื่อไปร่วมฉลองกับฝูงชนโดยที่ไม่มีใครจำได้ เหตุการณ์นั้นมีอะไรบางอย่างที่คล้ายกับการอ่านหนังสือ มันไร้ซึ่งชื่อเสียงเรียงนาม มันถูกแบ่งปัน มันเป็นของร่วมกัน พระองค์ผู้ทรงมีพระชนม์ชีพแยกจากมันมาโดยตลอด กลับพบในตอนนี้ว่าทรงโหยหามันเหลือเกิน ตรงนี้เอง ในหน้าหนังสือพวกนี้ ที่อยู่ระหว่างปกหนังสือเหล่านี้ที่พระองค์สามารถเสด็จท่องไปโดยไม่มีใครจำได้
ความสงสัยและการตั้งคำถามกับพระองค์เองเช่นนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น เมื่อใดที่พระองค์ทรงก้าวข้ามจุดนี้ไปได้ นั่นเองจะเป็นจุดสิ้นสุดที่ทำให้เห็นว่าความอยากทรงพระอักษรจะไม่เป็นเรื่องแปลกอีก และหนังสือที่พระองค์ทรงเคยหยิบขึ้นมาทรงพระอักษรอย่างระมัดระวังนั้นก็จะค่อย ๆ กลายเป็นส่วนสำคัญของพระองค์ไปในที่สุด
มีมุขตลกเกี่ยวกับหนังสือที่ราชินียืมห้องสมุดมาอ่านแล้วหมาในวังชอบกัด อย่างหนังสือของ เอียน แม็คอีวาน (Atonement) หรือ เอ เอส ไบแอ็ต (Posession)
และหนังสือที่คนสนิทซึ่งเป็นเกย์แนะนำให้ท่านอ่าน
“ฝ่าพระบาทน่าจะทรงพระอักษรงานเขียนของ คิลเวิร์ท พระพุทธเจ้าข้า” นอร์มัน กราบทูล
“เขาคือใครรึ”
“บาทหลวงในศตวรรษที่สิบเก้าพระพุทธเจ้าข้า เขาอาศัยอยู่บริเวณชายแดนที่ติดกับเวลส์ ชอบเขียนไดอารี่ ทั้งยังชอบเด็กผู้หญิงด้วยพระพุทธเจ้าข้า”
“อ้อ” องค์ราชินีรับสั่ง “อย่างนี้ก็เหมือนกับ ลิววิส แครอล สิ”
“แย่กว่าพระพุทธเจ้าข้า”
“ตายจริง อย่างนั้นเธอช่วยหาไดอารี่พวกนี้มาให้เราอ่านหน่อยได้ไหม”
* (เป็นที่รู้กันว่า ลิววิส แครอล คนแต่ง Alice in Wonderland เป็นคนขี้อาย ชอบสนิทสนมคลุกคลีกับ เด็กผู้หญิง และถ่ายรูปพวกเธอด้วย) *
แล้วในเล่มที่บอกว่าฝ่าพระบาททรงโปรดงานเขียนของชนกลุ่มน้อย เช่นใครบ้าง
วิกรัม เสธ กับ ซาลมัน รัชดี
เซอร์เควิน ข้าราชบริพารคนสำคัญ ทูลแย้งพระองค์ว่า
“การอ่านคือการตีตัวห่างออกจากสังคม คือการทำให้ตนเองไม่มีเวลาว่าง คนเราน่าจะรู้สึกคุ้นเคยกับมัน ถ้างานอดิเรกนั้นมีความเห็นแก่ตัว......น้อยกว่านี้
“วรรณกรรมในความคิดของเรา คือประเทศอันแสนกว้างใหญ่ ที่เราไม่เคยเดินทางไปถึงพรมแดนของมัน”
“การอ่านทำให้คนเรานุ่มนวลขึ้น ในขณะที่การเขียนส่งผลในทางตรงกันข้าม การจะเขียนหนังสือได้นั้น คุณต้องทั้งแกร่งและอดทน”
“ข้าพระพุทธเจ้าเคยได้แต่คิดว่า” นายกรัฐมนตรีทรงกราบทูล “ฝ่าพระบาททรงอยู่เหนือวรรณกรรม”
“เหนือวรรณกรรมรึ” องค์ราชินีตรัส “มีใครอยู่เหนือวรรณกรรมบ้าง ท่านก็อาจจะพูดได้เหมือนกันว่าเราอยู่เหนือมนุษยชาติ แต่อย่างที่เราพูดไว้นั่นล่ะว่า วัตถุประสงค์ของเรามิใช่งานวรรณกรรมเป็นหลัก มันคือการวิเคราะห์และใคร่ครวญว่าท่านนายกรัฐมนตรีทั้งสิบท่านพวกนั้นเป็นอย่างไร”
“..บางครั้งเราคิดว่าตัวเองเป็นเทียนหอม มีหน้าที่ส่งกลิ่นหอมให้กับระบบการปกครอง หรือไม่ก็ระบายอากาศให้กับนโยบายต่าง ๆ ระบอบกษัตริย์ในสมัยนี้ก็เป็นเพียงแค่น้ำหอมปรับอากาศที่ได้รับการรับรองโดยคณะรัฐบาลเท่านั้น”
แต่ประโยคในเล่ม ‘ราชินีนักอ่าน’ ที่โดนสุด ๆ คือ
“เราแน่ใจว่า ท่านรู้ว่า ยากนักที่หนังสือจะก่อให้เกิดการกระทำใด ๆ ขึ้นมา โดยทั่วไปหนังสือแค่ช่วยยืนยันในสิ่งที่ท่านตัดสินใจไปแล้วเท่านั้น ถึงท่านจะไม่รู้ตัวก็ตาม ท่านหันไปหาหนังสือก็เพราะมันเหมือนเป็นสิ่งที่สนับสนุนความตั้งใจของท่านเท่านั้น ถ้าจะพูดกันตามเนื้อผ้า หนังสือคือสิ่งที่ปิดหนังสือด้วยกันเอง”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)