7.2.57

My Sassy Book ตอน 49: Mr. Penumbra's 24- Hour Bookstore โดย Robin Sloan

My Sassy Book ตอน 49: Mr. Penumbra's 24- Hour Bookstore โดย Robin Sloan


ลองนึกถึงขนาดและรูปทรงของร้านหนังสือปกติที่ถูกจับตะแคง สถานที่นี้มันทั้งแคบและเสียดสูงจนชวนเวียนหัว ชั้นหนังสือตั้งคอสูงราวตึกสามชั้นได้ละมั้ง หรือสูงกว่านั้นอีก ผมเอียงคอมองตาม (ทำไมร้านหนังสือถึงชอบให้คุณทำท่าที่ไม่เหมาะกับคอนะ) ไล่ตาตามแถวหนังสือที่เนียนหายไปในเงามืดราวกับบอกเป็นนัยว่ามันไม่มีที่สิ้นสุด 

หิ้งหนังสือที่สูงปรี๊ดเบียดแนบชิดกันให้ความรู้สึกเหมือนยืนอยู่ริมป่า ไม่ใช่ป่าเกลี้ยงๆ แบบในแคลิฟอร์เนียนะ แต่เป็นป่าโบราณแถบทรานซิลเวเนีย มีทั้งหมาป่า แม่มด และคมกริชโจรสลัดที่คอยซุ่มอยู่ในเงามืดพ้นแสงจันทร์ มีบันไดให้ต่อยอดขึ้นไปบนชั้นหนังสือสูงลิ่ว ให้อารมณ์ห่อเหี่ยว มันเพรียกเสียงเล่าอ้างแห่งมหันตภัยในรัตติกาล



ปีที่แล้วอ่านหนังสือไปหลายเล่มที่ชอบ แต่ไม่ได้บันทึกเลย หยิบเล่มนี้ที่คิโนะคุนิยะ เพราะเห็นว่าเกี่ยวกับร้านหนังสือ ด้วยความที่ชอบร้านหนังสือเป็นทุน อยากทำร้านหนังสือ อยากถ่ายหนังเกี่ยวกับร้านหนังสืออยู่แล้ว มาเจอเล่มนี้อ่านพล็อตนึกถึงนิยายเรื่อง The Abortion ของ Richard Brautigan ขึ้นมาเลย เพราะเกี่ยวกับพนักงานร้านหนังสือและลูกค้าที่ไม่ชอบมาพากลเหมือนกัน แต่พออ่านจบแล้วไม่เหมือนกันเลย พาไปคนละทาง ตอนแรกเหมือนจะไปในทางสืบหาเรื่ององค์กรลับที่พระเอกต้องกู้โลกหรือเปล่า โชคดีที่ไม่ใช่ ไปดีกว่านั้นเยอะ ฉลาด มองโลกเปิดกว้างสนุกสนาน ที่สำคัญเป็นหนังสือเล่มเดียวที่เคยเจอที่คนเขียนพาโลกโบราณของหนังสือกระดาษเป็นเล่ม ๆ มาเจอกับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและพลพรรคชาวกูเกิลได้อย่างมองโลกในแง่ดีมาก ๆ 
ตัวละครแต่ละตัวอาจจะเพี้ยนบ้าง แต่น่ารักไม่มีพิษสง (ถ้าเขียนไม่ดีจะเสี่ยงต่อการทำตัวโลกสวยจนเกินเหตุ) ไม่เคยเจอแบบนี้เลยนอกจากในหนังของ Wim Wenders เรื่อง  Until The End Of the World กับ We All Laughed ของ Peter Bogdanovich มันเป็นหนังสือของคนที่ไม่ใช่ว่ารักหนังสือและเชื่อมั่นในกระดาษคือสรณะ (เพราะถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริงมันอาจจะเลี่ยน) แต่มันก็ยังให้เห็นว่าหนังสือในอดีตของแต่ละคนก็มีบทบาทถึงโลกปัจจุบันอยู่ดี โดยไม่ต้องอนุรักษ์นิยมจนโอเวอร์
ใครสนใจติดต่อกับ Robin Sloan คนแต่งผู้น่ารักได้ที่ http://www.robinsloan.com/

10.7.56

My Sassy Book ตอน 48: All Men of Genius โดย Lev A. C. Rosen


My Sassy Book ตอน 48: All Men of Genius โดย Lev A. C. Rosen




นี่เป็นนิยายที่สีสันแพรวพราว ฉลาด ลูกล่อลูกชน แม้จะมากด้วยพล็อตและตัวประกอบเพียบ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ต้องระแวงว่าความเป็นวรรณกรรมของมันน่าสงสัย หวังจะถูกซื้อไปทำหนังจนเกินเหตุ

ในยุควิคตอเรียนที่เป็นจริงเพียงส่วนเสี้ยว ตามจินตนาการผสมผสานอนาคตแบบนิยาย Steampunk 

ไวโอเล็ต กับ แอชตั้น เป็นวัยรุ่นชายหญิงฝาแฝดเกิดวันเดียวกัน อีกทั้งเป็นทายาทนักวิทยาศาตร์ขั้นนำของอังกฤษ แต่ไวโอเล็ตไม่ได้สนใจในเรื่องทำสวย หรือทำถูกจารีตของผู้หญิง แต่กลับมีทักษะในการประดิษฐ์เครื่องจักรกลเหนือมนุษย์มนาเสียแทน ส่วนแอชตั้นก็หาใช่ชายแท้ไม่ แต่มีรสนิยมเป็นเกย์  ทั้งคู่กลับเหมือนเกิดมาหลงยุคผิดประเพณี ไวโอเล็ตอยากเข้าเรียนที่ไอเลอเรีย โรงเรียนสอนวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ชั้นนำที่เด็กหนุ่มหัวเทพที่ทุกคนใฝ่ฝันจะเข้าไปเรียน (ผนังโรงเรียนประกอบด้วยกลไกขนาดยักษ์ที่ให้พลังงานกลและพลังงานไฟฟ้ากับสถานศึกษา-นี่ล่ะความโม้ที่มาของสิ่งประดิษฐ์ล้ำสมัยที่เหลือเชื่อล้ำยุคในสมัยวิคตอเรียนตามแนว steampunk ล่ะ)  

และนั่นคือความฝันของไวโอเล็ต ซึ่งแอชตั้นในฐานะพี่น้องร่วมสายเลือดจะยอมสนับสนุนทุกวิถีทาง เพื่อให้ไวโอเล็ตสมใจ  แต่ความยุ่งยากมันไม่ใช่แค่ปลอมตัวเป็นชายเข้าไปเรียนเท่านั้น ตัวแอชตั้นเองก็ต้องซ่อนความรักชายไม่น้อยไปกว่าที่ไวโอเล็ตต้องซ่อนความเป็นหญิง  แต่เรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ ที่ไม่น่าจะเกิดในโรงเรียนชายล้วนก็ยิ่งทำให้ทุกอย่างอลเวงอีกหลายเท่าตัว นี่ยังไม่นับรวมแผนการลึกลับที่ซ่อนอยู่ใต้ดินของอาคารเรียนอีกล่ะ



Steampunk แนวนี้ไม่เคยอ่านมาก่อน แต่เมื่อเป็นการรวมอะไรที่ไม่น่ามารวมกันได้อย่างการยืมพล็อตหญิงแต่งชายสลับคู่ผิดฝาผิดตัวแบบเช็คสเปียร์ (Twelfth Night), ออสการ์ ไวลด์ (The Importance of Being Earnest) ก็พล็อตที่ไม่ต่างจากหนัง She's The Man แหละ http://www.imdb.com/title/tt0454945/ พ่วงกับรสนิยมของกลุ่มตัวละครที่เอาล่อเอาเถิดระหว่างระเบียบและค่านิยมสมัยวิคตอเรียนกับการแหกกรอบเกรียนทั้งเชิงอินดี้ อัจฉริยะ และ queer สำหรับคนที่คุ้นชินมาบ้างกับขนบละคร หรือหนังเชคสเปียร์จะยิ่งสนุก เพราะกระทั่งวิธีการปล่อยตัวละครเข้าฉาก หรือจบตอนก็ชวนนึกถึงละครโบราณทันที แต่กลับให้รายละเอียดที่แหกประเพณีมากขึ้น มากกว่าที่ขนบเรื่องโบราณยุคนั้น ๆ จะเป็นจริงได้

ต่อให้มีขนบเรื่องโบราณแบบวิคตอเรียนและเสื้อรัดคอร์เซ็ตมาบังคับ หรือแบบแผน ท่าทาง มุขตลก การปล่อยตัวละคร stock characters ออกฉาก แต่กลับไม่ได้ทำให้ตัวละครแบนราบเลยสักนิด ความใส่ใจไปทั่วถึงตั้งแต่นางเอก ตัวประกอบทุกตัว (เว้นหน่อยคงเป็นตัวร้าย) มีรายละเอียดรับรองการันตีให้หมด (ซึ่งต้องสอดคล้องรองรับกับตัวละครอื่นๆ  ด้วย) และโดยเฉพาะกับพล็อตหญิงเป็นชายนี่ ตัวความเป็นจริงก็เขียนได้ยากอยู่แล้ว แต่คนแต่งเอาอยู่ แถมดึงให้คนอ่านร้อน หนาว สุข เศร้า หัวร่อร่าตามได้อย่างมหัศจรรย์ เป็นนิยายที่วิเศษจริง ๆ 

พออ่านบทสัมภาษณ์ คนแต่งเป็นชายรักชายด้วยแฮะ จัดงานแต่งงานไปแล้วด้วย

My Sassy Book ตอน 47: The Manual of Detection โดย Jedediah Berry



My Sassy Book ตอน 47: The Manual of Detection โดย Jedediah Berry


ในเมืองที่ฝนตกตลอดเวลา และมีแต่คนปฏิบัติงานดั่งคนเดินละเมอ นาฬิกาปลุกอันตรธานหายไปทั้งเมือง นักสืบจำเป็นที่ตกกระไดพลอยโจนและไม่อาจยึดคู่มือนักสืบเป็นสรณะ องค์กรลึกลับขนาดยักษ์ที่มีผู้จับตาซ้อนทับหลายชั้น สาวลึกลับสองคนที่ต่างมีอาการนอนไม่พอเป็นแกนร่วม นักเขียนคู่มือสืบสวนที่อยากลืมแต่กลับจำ หนึ่งวันในสัปดาห์ที่หายไปโดยทุกคนในเมืองไม่รู้หนต้นทาง คณะละครสัตว์อับชื้นที่ยืนอยู่คนละฝั่งเมืองและเป็นปริศนาพิสดารให้เหล่านักสืบกับเสมียนประจำตัวที่ไม่เคยพบหน้ากัน  นิยายอะไรมันจะนัวเนีย นัวร์เนิร์ด น่าแปลขนาดนี้วะ

การเปิดบทแต่ละบทก็ฉลาดแท้ ทำเป็นอ้างมาจากคู่มือนักสืบที่กินไม่ได้แล้วไม่รู้ใช้ได้จริงหรือเปล่า ดูเป็นคำยอกย้อนซ่อนกลกวนตีนแอบฉลาดแบบขำ ๆ ตลอดเวลา เหมือนซ้อนกลหยอกคนอ่านและตัวละครอยู่ตลอด การเล่าเรื่องแบบฝันซ้อนฝันที่ยังทำให้ดูต่างออกไปได้อีก



ปกติระแวงหนังสือที่เน้นพล็อตเรื่องซับซ้อน เน้นความฉลาดเจ้าเล่ห์กึงคริสโตเฟอร์ โนแลน (Inception) กึ่งหอสมุดบาเบล กึ่งบอรเฆส แต่อ่านเรื่องนี้เพลินจนลืมตัว เหมือนตกไปอยู่ในภาพเขียนเรขาคณิตของ MC Escher และภาพเซอร์หลอนของ มากริตต์ (ดูภาพหมวก) ที่ออกแบบอย่างดี ดูดซับนิยายของ คาฟก้า หายใจข้าง พอล ออสเตอร์ หรือ ฮารูกิ มูรากามิ แบบเนิร์ด นัวร์ ไม่น่าแปลกใจที่คนเขียนชอบงาน บอรเฆส, อิตาโล่ คัลวิโน่ (If On A Winter's Night The Traveller) แถมนี่เป็นนิยายเล่มแรกด้วย

ใช่ ข้อดีคือทำให้นึกได้ว่า เมื่อชาติที่แล้วเราเองก็เคยอยากทำหนังฟิล์มนัวร์.... เกือบลืมไปแล้วเนี่ย

19.4.56

My Sassy Book ตอน 46: Thief นิยายของ Maureen Gibbon


My Sassy Book ตอน 46: Thief
นิยายของ Maureen Gibbon

"You can't do anything for me or with me to make up for your crime. Nothing. There is no trading on sorrow."



คนที่ดูหนังหรืออ่านหนังสือมักจะหลงภูมิใจเวลาเจอของโดนใจด้วยการค้นพบเอง ไม่ใช่จากใครที่ไหนกระซิบบอก หรืออ่านจากใครแนะนำ เยส หนังสือเล่มโปรดที่ข้าค้นพบเองโว้ย ไม่มีใครแถวนี้เคยพูดถึงให้ได้ยินโว้ย แต่ก็นะ มีหรือของที่ไม่มีใครเคยเขียนถึง เหอะ จริงแท้ยังไง ข้าก็ขอให้ได้อ้างสักครั้งว่าข้าค้นพบของข้าเองละกัน 

อะไรดลใจให้หยิบเล่มนี้เมื่อวันคริสต์มาสอีฟปีที่แล้ว แถมยังพิเศษจรงที่รีบอ่านทันทีไม่มีดอง อ่านจบก่อนฉลองปีใหม่เสียด้วย อ่านติดแหน็บ ไม่ได้อ่านฝืด งง ๆ เหมือนเล่ม The End of Alice ของ A. M. Homes และแม้ว่าพล็อตนิดหนึ่งจะชวนนึกถึงหนังอย่าง The Paperboy  แต่ที่สุดมันก็คนละทางกันเลย

ซูซานน์ ใน Thief นี้ไม่ใช่ผู้หญิงแบบ นิโคล คิดแมน ใน The Paperboy แน่ ๆ นิโคลทำแกร่ง กร่าง หยาบ  แต่ที่แท้ไม่แกร่งจริง และไม่ได้มีตัวตนเพียงพอที่จะยืนเองได้  ซูซานน์ ไม่ได้แกร่งอะไรเกินผู้หญิงจริง ๆ แต่เธอผ่านการต่อสู้ภายในที่หนักหนากว่าเยอะ การที่เธอเคยโดนข่มขืนทำให้เธอคิดหนักกว่าในการจะสานสัมพันธ์กับผู้ชายสักคน และกับผู้ชายที่เป็นนักโทษในคุก และหนำซ้ำติดคุกในคดีข่มขืนด้วย ยิ่งต้องคิดสามตลบตบหนัก

เรื่องราวที่วนเวียนอยู่กับสัมพันธ์คืบหน้าในคุกของผู้เยี่ยมและผู้ถูกเยี่ยม ผู้กระทำและผุ้เคยโดนกระทำ คำถามซับซ้อนที่ซ่อนอยู่ในคำว่า "เหยื่อ"  เรื่องราวที่เข้มข้นและร้อนผ่าวจนกรงขังแทบละลาย ที่ทำให้ซูซานน์ และคนอ่านต้องทบทวนบทบาทและคตินิยมซ้ำ ๆ

เข้มข้นและลุ้นระทึกทุกบทขริง ๆ อ่านเสร็จรีบค้นข้อมูลดู อ้อ คนเขียนเอาชีวิตส่วนตัวเองจริง ๆ มาเขียนเยอะมาก สัมพันธ์อันตรายที่สุดบ้าบิ่นหลายๆ  เรื่องที่ ซูซานน์ เคยทำในหนังสือ เธอก็เคยทำมาเกือบหมดแล้ว  แต่นั่นแหละ เธอไม่โทษใคร เหตุผลหลายสิ่งในหลายเรื่องมันประกอบจากหลายสถานเกินกว่าจะโทษเพียงฝั่งใคร

Road House


Road House
a film by Jean Negulesco
with Ida Lupino and Richard Widmark




ปกติหนังเก่ารุ่นนี้ดูแล้วไม่น่าจะอินมาก แต่กับเรื่องนี้เป็นหนึ่งในไม่กี่เรื่อง ยื่งดูไปถึงท้ายเรื่องชักรู้สึกมันทันสมัยขึ้นเรื่อย ๆ การแสดงก็ดูสดมากขึ้นเรื่อย ๆ กับแนวเพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด ริชาร์ด วิดมาร์ค แสบถึงทรวง และ ไอดา ลูปิโน่ เธอหายห่วง

The Big Knife


The Big Knife
a film by Robert Aldrich



เคยดูฟิล์มยี่สิบกว่าปีที่แล้ว จำอะไรไม่ได้เลย เพราะอะไร ฟังไม่รู้เรื่อง แล้วหนังนี่เด่นที่ประโยคพูดจริง ๆ เพราะมันมาจากบทละครของ Clifford Odets ฉากก็แทบจะฉากเดียว เรื่องราวบัดซบหักหน้าหกหลังในวงการหนังเข้มข้นกดดันโคตร ๆ (เรื่องจริงหรือเปล่า) เพิ่งรู้ว่า Jack Palance และ ​Rod Steiger ก็ทำให้ชอบได้

เป็นหนังฮอลลีวู้ดที่ด่าวงการหนังแรงกว่าอีกเรื่อง The Bad and the Beautiful

หนังของ Robert Aldrich เรื่องนี้กับ Kiss Me Deadly ช่วงภาพขึ้นเครดิตนี่ล้ำยุคสุด  ๆ ทั้งเซอร์ทั้งคูล เสียดายฉากหลังจากนั้นถ่ายบ้าน ๆ ไปหน่อย

Moontide


Moontide
a film by
Archie Mayo



หนังขาวดำที่ดูเมื่อปีที่แล้ว แต่ประทับใจถึงวันนี้ ไม่น่าเชื่อว่า Jean Gabin จะเล่นหนังอเมริกันแล้วดูดี ไม่ค่อยศรัทธาคนฝรั่งเศสพูดภาษาอังกฤษไง  แต่ ฌอง กาแบ็ง แสดงซึ้งมากกับ Ida Lupino ดูจบแทบกระโดดเย้ เขียร์ให้พระนางสมหวัง 


ฉากที่เป็นฉากบ้านบนแพและบรรยากาศรอบ ๆ ริมน้ำนี้เป็นฉากที่งดงามที่สุดของฉากในหนังสตูดิโอตั้งแต่เคยดูหนังมา

18.4.56

สิ้นคิด bookvirus เล่ม 10 : ศรีนวลจัดหนัก (Destroy, She Said)

ทำไมยังพิมพ์หนังสืออีกวะ


พาตัวเองให้เครียดกับการหาเงินมาพิมพ์หนังสือใหม่ เล่มหนาเสียด้วย แต่มันไม่มีคำว่าพิมพ์ไม่ได้ ยังไงมันต้องพิมพ์ เงินยังไงก็ต้องหามา เพื่อว่า "นางเพลิง" และ "นารีนิยาม" จะได้ไม่ตายเปล่า

16.4.56

My Sassy Book ตอน 45: Everything is Nice โดย Jane Bowles



My Sassy Book ตอน 45: Everything is Nice
รวมเรื่องสั้น บทละคร จดหมาย และงานเขียนที่คั่งค้างของ Jane Bowles

คุณนายคอนสเตเบิ้ล: รีบเร่งเหรอ... ฉันไม่ยักรู้ว่าคนเขายังต้องรีบร้อนกัน.....
อินเนซ: เอาอีกแล่ว พ่อเจ้าประคุ้ณ
คุณนายคอนสเตเบิ้ล: ถ้างั้นคุณคงจัดอยู่ในหมวดของคนที่โชคดีที่ยังไมได้พบตัวเองอยู่ริมหลุมดำ เพราะจากนั้นแล้วมันไม่มีหรอกไอ้เรื่องรีบเร่งน่ะ มันมีแต่การรอคอย มันดูป่วยการไปหน่อยถ้าจะมามัวรักษาความสะอาด หลังจากที่เราได้มายืนตรงขอบหลุมเสียแล้ว

จากบทละครเรื่อง In the Summer House ของ Jane Bowles




อยากอ่านงานของ Jane Bowles (นามสกุลเดิม Auer) มาเป็นชาติ แต่กว่าจะหาหนังสือได้กี่ปีผ่านไป (ผลลัพธ์ของการอ่อนเน็ท)  งานเธอดูจิตตกพอกับชีวิตเธอเอาเรื่องอยู่ พูดให้ถูกคือตัวงานจิตตกมาก่อนที่ชีวิตจะตกสุด ๆ เสียอีก เห็นเธอบำบัดรักษาหลายครั้งทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต ชวนให้นึกถึงนักเขียนหญิงที่ชื่อนำหน้าว่า Jane อีกคนคือ Janet Frame  (An Angel at My Table) เช้าใจว่าเธอต้องมีปมอิจฉาผัวเธอที่ได้รับการยอมรับมากกว่าด้วยแหละ เธอแต่งงานกับ  Paul Bowles คนแต่ง The Sheltering Sky ที่ John Malkovich กับ Debra Winger นำแสดง  Bernado Bertolucci กำกับ คู่ผัวเมียนี้เป็นโบฮีเมียนหัวก้าวหน้าที่ไม่ยึดติดกับคู่ของตัวเอง ต่างคนต่างคบคนรักที่เป็นเพศเดียวกัน แต่ก็ยังรัก ห่วงใยกัน ดูแลกันด้วย โดยเฉพาะคุณพอลสามีช่วยดูแลงาน ปรับแต่งงานเขียนให้คุณเจนด้วย เพราะเธอเครียดเกินไปจากงานเขียนที่ไม่สำเร็จดั่งใจ  และถ้าไม่ได้พอล งานเขียนของเธอที่มีน้อยนิดอยู่แล้ว (น้อยกว่าคาฟก้า) อาจถูกเธอทำลายทิ้งเองไม่เหลือ

งานเธอส่วนใหญ่ในเล่มนี้บอกอาการคนที่ restless สุด ๆ คนที่กลัวการถูก reject ซึ่งประสาทเลื่อนลั่นได้กระทั่งระหว่างพี่น้องผู้หญิง แม่และลูกสาวในไส้ รักกันแต่ปฏิเสธกันได้ตลอด ทั้งด้วยอารมณ์ชั่วแล่นและอารมณ์ที่หมกซ่อนไว้นานนมจนบูดเน่า นั่งคุยกันแต่ไม่มีใครฟังกันเลยเกือบจะเป็นบทละครแอบเสิร์ดของ Samuel Beckett 




เรื่อง Camp Cartaract นี่อ่านยังกับบทละครเรื่อง In the Summer House ทำให้ทึ่งว่า space ละครนี่มันเหมาะกับการแสดงความ restless ปิดประตูพบทางตัน ทั้งไม่มีที่ไป ทั้งไม่พบทางออกได้ดี อารมณ์เดียวกับบทละครพวก Eugene O' Neil กับ Tennesse Williams ได้ดี แบบหลับตานึกถึง Desire Under The Elmes หรือ A Streetcar Named Desire ได้เลย และความพ่ายแห้ของตัวละครที่ไร้เพื่อนมันโหดนะ กับผู้ใหญ่ว่าโหดแล้ว กับตัวเด็กในเรื่อง A Stick of Green Candy ยิ่งแรง เพราะเธอมีแต่เพื่อนในจินตนาการ ซึ่งท้ายสุดยังต้องยกคืนให้กับความเป็นจริงอีก หมายเหตุว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสุดท้ายที่เธอเขียนจบ เพราะเธอร่อแร่กับอาการป่วยสารพัดมาหลายปี  บำบัดแล้วก็ไม่ดีขึ้น

สรุปลักษณะตัวละครขี้ระแวงคงยกให้เธอเป็นหนึ่ง โดยเฉพาะในเรื่อง Plain Pleasure ที่เขียนดีเหลือเกิน มันบอกชัดว่าก่อนจะถูกปฏิเสธ ฉันต้องชิงปฏิเสธก่อน แล้วเข้าไปอยู่ในโลกของความฝันดีกว่า


* ปก ปกของ เจน โบวล์ส นี้ย้ำให้จำได้ว่าทำไมถึงทำ Bookvirus เล่ม "นารีนิยาม" และ "นางเพลิง" ก็เพราะต้องการตอกย้ำว่าเป็นหนังสือที่ผู้หญิงเขียนน่ะซี้

15.4.56

My Sassy Book ตอน 44: อตีเตกาเลโดย แดนอรัญ แสงทอง


My Sassy Book ตอน 44: อตีเตกาเล
เรื่องสั้น 3 เรื่องโดย แดนอรัญ แสงทอง



ป่า ผี ไสยศาสตร์ พุทธ ตำนานย้อนยุค การต่อสู้ของคนกับสัตว์ จิตใจสัตว์ของคน และเรื่องเล่าแออัดที่ยัดแย่งกันเล่าในกระท่อมผู้ชนะของ แดนอรัญ แสงทอง ใน อตีเตกาเล คราวนี้พี่แดน วรเวทย์ เอ๊ย มหาเวทย์ มาพร้อมกับสิ่งร่วมสมัยมากขึ้น พร้อมกับอารมณ์ขันสไตล์ผ่อนคลาย และโทรศัพท์มือถือ! แต่ก็เฉพาะในเรื่องแรกอ่ะนะ เล่มนี้ออกมาได้เวลาพอดีกับหนังแม่นาก พี่มาก แบบถ้าใครจะเอาไปทำหนัง ได้เปิดปูมกำเนิดผีดูดเลือดกันอย่างละเอียดทีเดียว ประมาณเรื่อง Bram Stroker's Dracula เอ๊ย "เจ้าการะเกด" ปรุงรสแม่นากใหม่ไงสำหรับเรื่องสุดท้าย "การุณยฆาต" พี่เล่นใส่คาถามาเป็นหน้า ๆ กะให้คนอ่านเอาไปใช้จริง ปราบผีได้เลยนะเนี่ย 

เอ้า หนังผีจงเจริญ พี่เฟิ้มแกปูทางไว้ให้แล้วเนี่ย ค่ายหนังยังไม่เห็นอีก เจ้ยคงยังไม่เห็น เดี๋ยวปั้ดทำเองฮี่ ถ้ามีทุนสักสองแสนนะ


แปลกคน






เมื่อก่อนมีหนังอินดี้เราก็คิดว่าคนดูคงไม่พร้อมกับหนังแบบเรา  มาถึงตอนนี้ทุกคนเป็นอินดี้ แต่เรายิ่งแปลกแยกกว่าเดิมอีก  ถ้าตัดหนังเสร็จจริงกลับไม่อยากฉายแล้ว


ภาพฝีมือของ grazianopanfili

14.4.56

My Sassy Book ตอน 43: The Briefcase โดย Hiromi Kawakami


My Sassy Book ตอน 43: The Briefcase 

โดย Hiromi Kawakami


อ่านเรื่องย่อแล้วไม่อยากอ่านเลย กลัวจะแนวเดียวกับ Hotel Iris ของ โยโกะ โอกาว่า หรือหนังญี่ปุ่นดาด ๆ แต่ ฮิโรมิ คาวาคามิ เธอมาเนียน ๆ เงียบ ๆ ไม่กระโตกกระตาก ตรงที่จะกลายเป็นขายความ weird หรือหมกมุ่นเดิม ๆ แบบคนญี่ปุ่นก็ไม่ใช่  อาจจะคล้าย"รักไม่เรียบ" (สนพ. Sunday Afternoon) อยู่บ้างตรงนางเอก ผสมกับความเซอร์แบบ "ม้าน้ำ" ของเธอใน "นารีนิยาม" (bookvirus 07)  นิด ๆ  เธอพาคนอ่านไปนั่งจิบสาเก กินข้าว ร้องอื้อ ๆ อ้า ๆ เงียบๆ ไปแบบหนังโอสุ สลับกับการปลีกวิเวก และออกเดทเก็บเห็ด ไปงานคืนสู่เหย้า ชมพิพิธภัณฑ์ ที่ไม่น่าตื่นเต้นตรงไหน แต่ก็ดึงมือคนอ่านไปทีละนิดแบบเดียวกับที่ดึงลูกศิษย์อาจารย์สองคนมาหากัน  มีความโก๊ะของนางเอก คิดฝันวูบวาบอะไรไป  นึกอะไรไม่ออก สับสนเอาไงดีกับเซนเซ เฮ้อ เธอขอหลับดีฝ่า (เพื่อนตูอ่านชอบแน่) 



พล็อตที่ดูเหมือนจะคล้ายกับ Hotel Iris ของ โยโกะ โอกาว่า แต่เล่มนี้เล่นท่าง่ายแล้วลงลึกกว่า