![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjzsOY7krm6YUT5KrIzdnXX5egH7Hr7Qp03T3b7OQM350Sxg1cQ-hKTPZGR0DJznGzx_j35hhw3WjK2f3uBnT7T-1leMxc9pvft74LGxapfW5R87Th7CBtb4Qpjcz-HqW9vIhLTS1TTMQg/s200/Library+Shadows.jpg)
และโชคดีไม่ผิดหวัง นิยายเรื่องแรกจากนักเขียนเดนมาร์คชื่อ Mikkel Birkegaard ต่อให้พล็อตมันจะช้ำทางแล้วก็ตามที คงประมาณ The Da Vinci Code อะไรก็ตาม แต่เปลี่ยนเป็นเรื่องของกลุ่มคนรักหนังสือที่มีลัทธิเก่าแก่ที่มีพลังพิเศษทางการอ่าน (Lectors) ทางการรุกและการรับ เป็น 2 กลุ่ม Transmitters และ Receivers ซึ่งสามารถกระตุ้นให้การอ่านเป็นพลังด้านบวกหรือลบที่อันตรายมาก ๆ คือ ถ้าไม่หวังนิยายลึกซึ้งขนาด Umberto Eco’s The Name of the Rose ก็เรียกได้ว่าอ่านเพลิน ไม่อยากวางเลยว่างั้น เหมือนดูหนังฮอลลีวู้ดสูตรสำเร็จสนุก ๆ มาก ๆ ซักเรื่อง (ซึ่งไม่ได้มีบ่อย ๆ) แม้ว่าเรื่องมันจะเดินเส้นตรงแก้คลี่คลายคดี ใครฆ่า ใครบงการ แต่หาทางออกได้ดีทีเดียว คนอ่านหนังสือเยอะ ๆ จะสนุกมากว่าคนอ่านในเรื่องกำลังพูดถึงหนังสือเล่มไหน ด้วยการเจาะลงไปในมโนภาพของนักอ่านที่ทำให้ภาพจากตัวหนังสือกลายเป็นภาพจริงที่เฉพาะเจาะจงไม่เหมือนกันของคนอ่านแต่ละคน (แบบตอนอ่าน ดอน กิโฆเต้) แล้วตอนที่อธิบายว่าการอ่านของคนอื่นเข้ามาอาละวาดในหัวของคนพวกนี้ แล้วเฉลยว่าเป็นเด็กกำลังอ่านเรื่อง “ปิปปี้ถุงน่องแดง” ทำได้สนุกมาก ๆ เรียกว่าเป็นการบรรยายที่วิเศษสุด ๆ เลยล่ะ
เทียบกับ The Shadow of the Wind แล้วชอบเรื่องนี้มากกว่าล้านเท่า เรื่องนั้นดังมีคนเชียร์มากมายได้ยังไง สงสัยเพราะพล็อตมันเยอะ เรื่องซับซ้อนหลายตลบ แต่มันช่างฟุ้งฝันรักสลบเสียจริง ๆ คงเหมือนคนที่ชื่นชม Inception ย่อมมีมากกว่า Source Code เสมอไปละมั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น