31.12.53

My Sassy Book ตอน 24: The Diaries of Sofia Tolstoy


นี่หรือคือชีวิตจริง Leo Tolstoy นักเขียนชื่อกระเดื่องโลกแห่ง “สงครามและสันติภาพ”, “อันนา คาเรนนินนา” ที่ชื่อนี้อาจจะกระเดือกไม่ลงอีกต่อไป ภาพคุณงามความดี คุณธรรมชั้นเลิศที่เคยได้ยินมาตั้งนานปี้ป่นไปหมดเพราะบันทึกของเมียแกนี่เอง เมียแกโทษว่า ตอลสตอย อ้างคุณธรรม อ้างชั่วดี แต่ทำกับเมียเยี่ยงทาส วันๆ นั่งเลี้ยงลูกเป็นสิบคน คัดต้นฉบับลายมือนิยายเล่มหนา ๆ เล่มนึงซ้ำแล้วซ้ำอีกด้วยความรักผัว แต่ได้รับการตอบแทนความรักเยี่ยงไร มองผู้หญิงเป็นแค่......ก็สมควรอยู่ที่เธอหมั่นไส้ที่ท่านนักเขียนใหญ่ทำเป็นคนกรุณาปราณี รักเพื่อนมนุษย์ กินอาหารสุขภาพ ใส่เสื้อซอมซ่อ ลดตัวไประดับเดียวกับชาวบ้านขี้กลากเกลื้อน เสร็จแล้วเป็นภาระใคร วัน ๆ ทำนั่งเขียนเล็คเชอร์ On Religion, What is Art?, On Love and Marriage แล้วเป็นไง โคตรกดขี่เมีย (ในเล่ม เพลงสังหาร The Kreuzer Sonata เห็นว่าที่ผัวฆ่าเมียสังเวยคบชู้คงมีนัยยะพิเศษ) ที่น่าตกใจที่สุดความรักนี่มันฆ่าคนทั้งเป็นได้เลือดเย็น

นี่คงเป็นหนังสือที่อ่านแล้วช็อคที่สุดแห่งปี

คำนำโดย Doris Lessing

27.12.53

My Sassy Book ตอน 23: "X'ed Out" ของ Charles Burns

“This is the only part I’ll remember. The part where I wake up and don’t remember where I am.”

โอเค การ์ตูนของ ชาร์ลส์ เบิร์นส์ นี่ดูจะเป็นพี่น้องกับหนังของ David Lynch ได้ดี คราวก่อนเขียนถึง The Black Holeไป คราวนั้นเป็นการ์ตูนขาวดำ แต่คราวนี้เป็นสี แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้โลกสดใสขึ้นเท่าไหร่ เพราะโลกของ ชาร์ลส์ เบิร์นส์ ยังคงเป็นโลกมืดที่ประกอบด้วยจริงปลอม ฝันหลอนคู่ขนานกันไป แต่ก็ไม่ได้แยกออกจากกันเสียทีเดียว มีแบบพวกแผลเป็น หนอนน่าเกลียด วิญญาณหมาที่พา Nitnit (ชื่อเรียงถอยหลังจาก Tin Tin) ตัวเอกไปปรโลก ครอบครัวที่ไม่มั่นคง กลุ่มวัยรุ่นในยุค 70 ทเป็นคั้ลท์เสพยาหรือติดโรคลึกลับอะไรสักอย่าง เพื่อนสาวหรือแฟนที่ดูน่าบูชาแต่มีนัยยะล่อแหลมเรื่องเพศน่ากลัว ซึ่งนั่นแหละต้องติดตามอ่านกันต่อไป เพราะนี่เป็นแค่เล่มแรกในสามเล่มที่จะค่อย ๆ ทยอยออกมา และต้องดูกันต่อไปว่าจะมีอะไรเชื่อมโยงกับ Tin Tin อีกแค่ไหน แต่ว่าไปหนังของ เดวิด ลิ้นช์ อย่าง Mulholland Drive, Inland Empire, Dune นั้นมาดูตอนนี้ไม่ไหวเลย คล้าย ๆ ว่าการ์ตูนของ เบิร์นส์ ทำได้น่าสนใจกว่า ถึงจะมีอะไรคล้ายกัน

26.12.53

My Sassy Book ตอน 22: Sleeper’s Wake ของ Alistair Morgan


“Damaged People are Dangerous” จาก Damage ของ Josephine Hart

น่าปกดูไปยังกับหนังสยองขวัญ พล็อตธรรมดา แต่เจาะตัวละครได้ดี เล่าเรื่องวางหนังสือแทบไม่ลง สะดุดใจที่สุดกับตัวละครเคร่งศาสนาที่ช่วยเหลือคนเพราะเข้าใจว่าคนที่ตัวเองช่วยนั้นน่าสงสาร ผ่านโศกนาฏกรรมแย่ๆ มาเหมือนกัน แต่พอรู้ว่าเขาไม่ได้ต้องการความช่วยเหลือของตัวเอง และยังย้อนรอยเข้าหลังบ้าน เรื่องก็เลยกลับตาลปัตร

“We are all capable of surprising cruelty”. “It is something that makes us human.”

24.12.53

15 ปีฟิล์มเฮ้่าส์ ไม่ง่าย

วันนี้ครบรอบ 15 ปี ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ออกจะเงียบเหงา ไม่มีฉลอง ไม่มีจัดเลี้ยง ไม่มีฉายหนังอีกเช่นเคย ไม่รู้ว่าน่าเศร้าหรือน่าดีใจที่ทำงานมานาน แต่ไม่มีเงินเข้าหน่วยงาน องค์กรที่ไม่มีเงินจ้างพนักงาน! เงินหน่วยเดียวที่เข้าคงเป็นเงินขายหนังสือเพียงหลักร้อยหลักพัน กว่าจะนับเป็นหมื่นได้ไม่ใช่เวลาสั้น ๆ แต่ต้องรอหลายปี ทุกอย่างมีแต่ถ้า....... ถ้าเพียงมีเวลามากกว่านี้ หนังคงทำออกมาดีขึ้น ถ้ามีเงินคงมีเงินจัดเลี้ยง คงพิมพ์หนังสือวรรณกรรมและหนังสือหนังที่ชอบ มีเงินไปเที่ยวต่างจังหวัด ต่างประเทศ และคงสามารถตั้งต้นทำสิ่งที่สลักสำคัญ มันอาจจะมีผลพิเศษต่อวงการหนังได้ด้วยซ้ำ แต่ แต่ แต่

20.12.53

My Sassy Book ตอน 21: The Lovers ของ Vendela Vida

อ่านมาว่าหนังของ Julia Roberts ใน Eat Drink Pray Loveเป็นตัวแทนความคิดของฝรั่งผิวขาวที่สร้างความรู้สึกดีให้ตัวเอง โดยไปทำตัวเป็นผู้รู้ ผู้เหนือกว่าวัฒนธรรมแต่ละอันที่ตัวเองไปข้องเกี่ยว แทนที่ตัวเองจะอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไปเรียนรู้ กลับไปเสนอหน้าสอนเขาเสียอีก เลยนึกถึงนิยายที่อ่านจบไปนานแล้วเรื่อง The Lovers ของ Vendela Vida ที่อาจจะเป็นด้านกลับ

เรื่องของ อีวอนน์ แม่บ้านที่สามีตาย ตอนตายใหม่ ๆ คนก็สงสารกลัวเธอจะอยู่คนเดียวไม่ได้ ในความทรงจำสามีก็ดูดี แต่เวลาผ่านไปมันก็งั้น ๆ เขาไม่ใช่คนดีวิเศษ แต่ก็ไมใช่คนเลว แต่งงานไปนาน ๆ อิสระเสรีเป็นยังไง ก็เริ่มสะกดไม่ถูก แต่พอเธอขยับใช้ชีวิตจริง เออ มันก็อยู่ได้ เสียงนกเสียงกาที่พูดกันน่ะ น่ารำคาญ  

ลูกชายเธอก็ไปได้ดี ห่วงแต่ลูกสาวที่เธอกับสามีคิดว่าไม่มีอนาคต อยู่กับแฟนคนไหนไม่ได้นาน แล้วยังต้องไปเข้าบำบัดจิต เวลาลูกสาวติดต่อมาแต่ละที เธอนะใจแป้ว 

แล้วการเดินทางไปตุรกี ย้อนหาภาพฮันนีมูนเก่าแก่อันสวยงามของเธอที่เคยไปกับสามี ก็จะนำเธอไปสู่การเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้น มันไม่ใช่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ มันแค่บอกว่า เธอไม่ควรไปกะเกณฑ์ว่ารู้อะไรดี เพราะของทุกอย่างมันมีชีวิตของมัน มันมีทิศทางของมันอยู่แล้ว มุมของเธอมันก็แค่อีกอันในจักรวาลเท่านั้น ความปรารถนาน่ะดี ถ้ารู้และไม่หวังจะเปลี่ยนแปลงโลก

หนังสือมีประโยคดี ๆ เช่นมุมที่เธอ - อีวอนน์ มอง แมธธิว ลูกชาย 

Matthew, though well meaning, understood her on a superficial level. Was that fair? She wondered. Mother, Teacher, Historian, wife, Widow. He did not look beyond these terms, these roles. But Yvonnne had not done so with her own mother either.

หรือบทบาทที่คนอื่นมอง The problem with being a history teacher was that everyone assumed your interest in the past was undying. Every birthday gift was an antique.

หรือมุมที่เธอมองนักท่องเที่ยวที่ชวนเธอไปล่องเรือด้วย อันนี้ไว้ตอบ จูเลีย โรเบิร์ตส์ หรือความคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว “ในแบบที่ควรเป็น” ได้

Yvonne liked them. She liked their clear demonstration to enjoy their vacation together: it seem oddly rare. More common were people who took satisfaction in not having a good time, who expected a country to prove it was deserving of the trouble it took to get there.

อีวอนน์ รู้จักกับสาวบนเรือที่ชวนเธอไปเที่ยวด้วย สามีเธอนำเข้าเพชรพลอย และเธอพูดอย่างภาคภูมิใจว่าเป็นดีไซน์เนอร์ อีวอนน์ ดูออกว่าของที่เธอใช้เป็นของที่ แครอล ออกแบบเอง มันยิ่งทำให้ แครอล ภูมิใจมากขึ้นไปอีก

Carol beamed. It was what every woman wanted. Yvonne thought, for the life around her-her clothes, her house, her car-to look like her, to be an extension of her.

อีวอนน์ ไม่ได้เตรียมตัวกับการรับมือสิ่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาในชีวิตได้ดีนัก เธอพยายามทำตัวเป็นทัวร์ริสต์ที่ดี แต่บางทีบทบาทนี้อาจะไม่เหมาะกับเธอเลยก็ได้ เธอต้องรู้จักทำความเข้าใจว่าไม่ใช่ทุกอย่างจะมีคำตอบ หรือเธอจะมีอำนาจเปลี่ยนแปลงอะไร และคนอื่นก็มีวิธีมองเธอแบบของเขาที่เธอเปลี่ยนแปลงไม่ได้ อย่างเดียวที่ทำได้คือรับผิดชอบชีวิตตัวเองให้ดี แล้วก้าวไปข้างหน้า

พล็อตอาจฟังดูทื่อ ๆ แต่นักเขียนสาวคนนี้ Vendela Vida (ภรรยาของ Dave Eggers) เขียนได้อย่างเข้าถึงผู้หญิงและหัวใจของการท่องเที่ยวได้ดีทีเดียว

สำนักพิมพ์ Ecco Books