5.12.55

วรรณกรรมเล่มโปรดของ วินเซนต์ แวนโกะ (ฟินเซนต์ ฟาน ค๊ก)

จากหนังสือ แวนโก๊ะที่เคยเข้าไปทำ (แต่ไม่ได้ใช้)


วรรณกรรมเล่มโปรดของ วินเซนต์ แวนโกะ (ฟินเซนต์ ฟาน ค๊ก) ในหนังสือจดหมายของ วินเซนต์ แวน โกะ(และหนังสืออ้างอิงที่เกี่ยวข้อง)

ในหนังสือจดหมายของ วินเซนต์ แวน โกะ (The Letters of Vincent Van Gogh) รวบรวมโดย Mark Roskill พูดถึงงานวรรณกรรมของนักเขียนหลายคนที่เราชาวไทยพอจะเคยได้ยินชื่อ แต่อาจหาอ่านยาก ในที่นี้เลยขอรวบรวมไว้ ในร้านหนังสือมือสองและห้องสมุดเก่า ๆ คงพอหาได้

หนังสือของ Charles Dickens
ชาร์ลส์ ดิกเกนส์Great Expectations ภาคภาษาไทยชื่อ “ความหวัง” แปลโดย พจน์ เดชา สำนักพิมพ์ประมวลสาสน์ (ไม่ระบุปี)
A Tale of Two Cities ภาคภาษาไทยชื่อ “สองนคร” แปลโดย ปรัชา ส่งสัมพันธ์ สำนักพิมพ์บรรณกิจ (กรกฏาคม 2523)

บทละครของ William Shakespeare
วิลเลี่ยม เชคสเปียร์
The Merchant of Venice ภาคภาษาไทยชื่อ “เวนิสวานิส” พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2459)
As You Like It ภาคภาษาไทยชื่อ “ตามใจท่าน” พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว สำนักพิมพ์บรรณาคาร (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2464 พิมพ์ครั้งที่เจ็ด พ.ศ. 2514)
Romeo and Juliet ภาคภาษาไทยชื่อ “โรเมโอและจูเลียต” พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2466)
A Midsummer Night’s Dream ภาคภาษาไทยชื่อ “ฝัน ณ คืนกลางฤดูร้อน” แปลโดย ดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา (พ.ศ. 2509)
A Twelfth Night ภาคภาษาไทยชื่อ “ราตรีที่สิบสองหรืออะไรก็ได้” แปลโดย รัตนาภรณ์ ไกรฤกษ์ ยูนิพันธ์ (พ.ศ. 2509)
Romeo and Juliet / Antony and Cleopatra ภาคภาษาไทยชื่อ “โรเมโอและจูเลียตและพระนางคลีโอพัตรา” แปลโดย ป. อนุคระหานนท์ (พ.ศ. 2514)
Julius Caesar ภาคภาษาไทยชื่อ “จูเลียส ซีซาร์” แปลโดย ทวีปวร (พ.ศ. 2515)
Macbeth ภาคภาษาไทยชื่อ “แมคเบธ” แปลโดย นพมาส แววหงส์ (พ.ศ. 2537)
หรรษาราตรี : ชุดวรรณกรรมเอกของ เชคสเปียร์ เรียบเรียงโดย นพมาส แววหงส์ (พ.ศ. 2538)

วิเคราะห์ผลงานของ เชกสเปียร์
“เชกสเปียร์” พันทิพา บูรณมาตร์ แปลจาก Shakespeare: A Very Short Introduction เขียนโดย Germaine Greer จัดพิมพ์โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (พิมพ์เมื่อ เมษายน 2549)


หนังสือของ Honore de Balzac


ออนอเร่ เดอ บัลซัค

Balzac (ชีวประวัติของบัลซัค) ภาคภาษาไทยชื่อ “บัลซัค” แปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร, สำนักพิมพ์ผีเสื้อ, กรกฏาคม 2542

Le Pere Goriot ภาคภาษาไทยชื่อ “พ่อโกริโยต์” แปลโดย ลัดดา วงศ์สายัณห์, วัลยา วิวัฒน์ศร, สำนักพิมพ์ผีเสื้อ, พฤศจิกายน 2542

La Femme de Trente Ans ภาคภาษาไทยชื่อ “สาวสามสิบ” แปลโดย สารภี แกสตัน, สำนักพิมพ์ผีเสื้อ, ธันวามคม 2544

Le Pere Goriot ภาคภาษาไทยชื่อ “พ่อโกริโยต์” แปลโดย ลัดดา วงศ์สายัณห์, วัลยา วิวัฒน์ศร, สำนักพิมพ์ผีเสื้อ, พฤศจิกายน 2542

La Femme Abandonnee ภาคภาษาไทยชื่อ “หญิงรักร้าง” แปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร, สำนักพิมพ์ผีเสื้อ, ธันวาคม 2544

Eugenie Grandet ภาคภาษาไทยชื่อ “เออเฌนี กร็องเด้ต์” แปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร, สำนักพิมพ์ผีเสื้อ, มีนาคม 2544

หนังสือของ Victor Hugo


วิกตอร์ อูโก
Les Miserables ภาคภาษาไทยชื่อ “เหยื่ออธรรม” แปลโดย จูเลียต, สำนักพิมพ์ผดุงศึกษา, 2504 (ต่อมาพิมพ์ซ้ำอีกเช่นสำนักพิมพ์ทับหนังสือเมื่อปีเมษายน 2535) และมีสำนวนแปลที่สองชื่อ “ตรวนชีวิต” แปลโดย พูลสุข ต้นพรหม, สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง

The Hunchback of Notre-Dame ภาคภาษาไทยชื่อ “ไอ้ค่อมแห่งโนตเตรอะดาม” แปลโดย สายธาร, สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น, 2519

หนังสือของ Voltaire


โวลแตร์
Candide ภาคภาษาไทยชื่อ “ฆานฑิต คนว่าง่าย” แปลโดย ดร. วัฒนา, สำนักพิมพ์อักษรสาสน์ 2498 และมีการแปลใหม่ในรูปเล่มปกแข็งสีครีมในชื่อ “ก็องดิดด์” สำนวนแปลของ วัลยา วิวัฒน์ศร, สำนักพิมพ์ผีเสื้อ, กรกฏาคม 2538 (ต่อมาพิมพ์ซ้ำอีกครั้งในฉบับปกอ่อนและปกแข็งสีแดงโดยสำนักพิมพ์เดียวกัน)

Zadig ภาคภาษาไทยชื่อ “ซาดิก” แปลโดยวัลยา วิวัฒน์ศร, สำนักพิมพ์ผีเสื้อ, สิงหาคม 2539 (พิมพ์ซ้ำครั้งที่สองในปี 2543)

ไม่มีความคิดเห็น: